3/8/53

ข้อมูลทั่วไปอำเภอปลายพระยา


อำเภอปลายพระยา
                                                                            1. ข้อมูลสภาพทั่วไปของอำเภอปลายพระยา
              1.1 ความเป็นมา
           อำเภอปลายพระยา เดิมสมัยก่อนเป็นตำบลปลายพระยา และตำบลเขาเขน ขึ้นอยู่ในเขตปกครองของอำเภอไทรขึง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตำบล 2 ตำบลนี้ ในสมัยนั้นเรียกว่า บ้านปากน้ำ และบ้านเขาเขน ขึ้นอยู่กับตำบลอีปัน อำเภอไทรขึง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาเมื่อในสมัยที่ขุนพลพระยาภิบาลเป็นกำนันตำบลอีปัน ทางราชการได้แยกบ้านปากน้ำ กับบ้านเขาเขน ตั้งเป็นตำบลปลายพระยา และตำบลเขาเขน แล้วได้ย้ายอำเภอไทรขึงไปตั้งเป็นอำเภอพระแสงปัจจุบัน ตำบล 2 ตำบลนี้ ในสมัยนั้นการคมนาคมไม่สะดวกราษฎร ไปติดต่อค้าขายและไปติดต่อกับทางราชการ จะต้องเดินทางไปโดยใช้ช้างเป็นพาหนะ หรือเดินเท้า อีกทางหนึ่งนั่งเรือแจว เรือพาย และล่องแพไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี การเดินทางไปมาในสมัยนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบากอย่างสาหัส ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน และเสี่ยงต่อภัยอันตรายรอบด้าน
            ในสมัยต่อมา ทางราชการจึงได้เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด และได้โอนตำบลปลายพระยา ตำบลเขาเขน ให้ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2516 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแบ่งท้องที่อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอปลายพระยา มีเขตปกครอง 3 ตำบล คือ ตำบลปลายพระยา ตำบลเขาเขน และตำบลเขาต่อ
เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2520 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะให้เป็นอำเภอปลายพระยา
วันที่ 2 กันยายน 2526 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแบ่งท้องที่ตำบลเขาเขน บางส่วน เป็นตำบลคีรีวง
ปัจจุบันอำเภอปลายพระยา ประกอบด้วย ตำบลปลายพระยา ตำบลเขาเขน ตำบลเขาต่อ และตำบลคีรีวง รวม 4 ตำบล มีหมู่บ้านจำนวน 35 หมู่บ้าน
           1.2 ที่ตั้ง
อำเภอปลายพระยา เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 8 อำเภอ ของจังหวัดกระบี่ ซึ่งห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 65 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของจังหวัดกระบี่
           1.3 เนื้อที่
อำเภอปลายพระยา มีเนื้อที่ประมาณ 473.87 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 296,168.75 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อ ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอพนม อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเขาพนม อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
            1.4 สภาพภูมิประเทศ และลักษณะภูมิอากาศ
                          1.4.1 สภาพภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของอำเภอปลายพระยา เป็นที่ราบสูง และที่ราบเนินเขา มีภูเขาน้อยใหญ่ สลับซับซ้อน อยู่เป็นจำนวนมาก
แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่
1. คลองอิปัน ต้นน้ำเกิดบริเวณเทือกเขาพนมเบญจา ในเขตอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
2. คลองลาว ต้นน้ำเกิดบริเวณเทือกเขาต่อ ในเขตตำบลเขาต่อ ไหลผ่านพื้นที่ตำบลเขาต่อ
3. คลองพันโตน ต้นน้ำเกิดบริเวณภูเขาทอง ในตำบลเขาเขน ไหลไปบรรจบกับคลองอิปัน บริเวณบ้านปากน้ำ ตำบลปลายพระยา
                         1.4.2 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอปลายพระยา มีฝนตกตลอดปี โดยเฉพาะฝนจะตกชุกในระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม เพราะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน ดังนั้น จึงมีเพียง 2 ฤดู คือ
ฤดูฝน เริ่มตกเดือน พฤษภาคม ธันวาคม
ฤดูร้อน เริ่มตกเดือน มกราคม เมษายน
อุณหภูมิเฉลี่ย 16.9 – 37.3 องศาเซลเซียส
                    1.4.3 จำนวนประชากร
อำเภอ/ตำบล
ชาย
หญิง
รวม
ดูข้อมูลทั่วไป
ตำบลปลายพระยา
6,012
5,704
11,716
ตำบลเขาเขน
3,178
3,077
6,255
ตำบลเขาต่อ
3,594
3,635
7,229
ตำบลคีรีวง
2,772
2,760
5,532
รวม
15,556
15,176
30,732
จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง* ณ วันสำรวจ จำแนกตามช่วงอายุจากผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับอำเภอ (จปฐ.2) ปี 2552 ในเขตชนบท 35 หมู่บ้าน
           1.5 ทรัพยากรธรรมชาติ
เนื่องจากในพื้นที่อำเภอปลายพระยา มีฝนตกตลอดปี และมีดินอุดมสมบูรณ์มาก เคยเป็นพื้นที่ที่มีพันธุ์ไม้มีค่านานาชนิด เป็นทรัพยากรที่มีค่าของอำเภอ แต่ในปัจจุบันได้มีการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อจับจองเป็นที่ดินทำกินการสัมปทานป่าไม้ เพื่อปลูกสร้างปาล์มน้ำมันของภาคเอกชนในพื้นที่ จึงทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดจำนวนลงเป็นจำนวนมาก
             1.6 แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งธรรมชาติที่สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอ ได้แก่
- ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลปลายพระยา เป็นถ้ำที่มีธรรมชาติสวยงาม ที่สุดในเมืองไทย
- น้ำตกบางเท่าแม่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเขาต่อ
- ถ้ำวารีริน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลคีรีวง
- ถ้ำวิมาลย์ศิลาลัย ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลคีรีวง
- ถ้ำรอบ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลเขาเขน
- ถ้ำทะเลหอย ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลปลายพระยา
- น้ำตกบางหินงาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลปลายพระยา
- น้ำตกสุขสันต์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลปลายพระยา
             1.7 การปกครอง
           อำเภอปลายพระยา แบ่งการปกครองท้องที่ ออกเป็น 4 ตำบล มีหมู่บ้านจำนวน 35 หมู่บ้าน และมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ทั้งหมด 148 คน มีหมู่บ้านที่กระทรวงมหาดไทยประกาศ จัดตั้งเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนา และป้องกันตนเอง (อพป.) จำนวน 14 หมู่บ้าน ดังนี้
ตำบลปลายพระยา มี 13 หมู่บ้าน แยกเป็นหมู่บ้าน อพป. 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 6, 7, 10 ตำบลเขาเขน มี 6 หมู่บ้าน แยกเป็นหมู่บ้าน อพป. 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3 ตำบลเขาต่อ มี 7 หมู่บ้าน แยกเป็นหมู่บ้าน อพป. 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 4, 5, 6
ตำบลคีรีวง มี 8 หมู่บ้าน แยกเป็นหมู่บ้าน อพป. 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 3, 6
 หน่วยการปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วยเทศบาลตำบล 1 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง ดังนี้
                    1. เทศบาลตำบลปลายพระยา
                    2. องค์การบริหารส่วนตำบลปลายพระยา
                    3. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาเขน
                    4. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาต่อ
                     5. องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีวง
          2. สภาพทางเศรษฐกิจ
                         2.1 อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเชิงพาณิชกรรม โดยแบ่งออกเป็น ดังนี้
                        2.1.1 ด้านเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ในอำเภอปลายพระยา ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกร ได้แก่ การทำสวนปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมัน 119,349.75 ไร่
กาแฟ 7,070 ไร่
ทุเรียน 85,705 ไร่
มะพร้าว 1,689 ไร่
ลองกอง 84,587 ไร่
เงาะ 753 ไร่
มังคุด 84,207 ไร่
ข้าว 460 ไร่
ยางพารา 38,360 ไร่
ส้มโอ 215 ไร่
                          2.1.2 ด้านอุตสาหกรรม ในเขตรับผิดชอบของอำเภอปลายพระยา มีโรงงานอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม จำนวน 2 แห่ง คือ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม บริษัทยูนิวานิช จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลปลายพระยา และโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม นิคมสหกรณ์อ่าวลึก ตำบลคีรีวง
                          2.1.3 ด้านการพาณิชยกรรม โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตชุมชน การลงทุนส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะร้านเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไปทุกตำบล
                             2.1.4 ด้านปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ในอำเภอปลายพระยา ส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงเพื่อรายได้ หรือเป็นอาหารในครอบครัว มิได้หวังจะทำการเลี้ยงเป็นรายได้หลัก หรือเป็นการค้า แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรในพื้นที่ เริ่มมีการตื่นตัวที่จะเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมมากขึ้น
อำเภอปลายพระยา มี 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
ตำบลปลายพระยา อาหารทะเลแปรรูป
ตำบลเขาต่อ เห็ดฟางจากทะลายปาล์ม
ตำบลเขาเขน ผ้าบาติก
ตำบลคีรีวง แชมพูและครีมนวดสมุนไพร ขนมต่างๆ เครื่องแกง
                   2.2 หน่วยธุรกิจในเขตอำเภอปลายพระยา
- ธนาคาร 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย จำกัด และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำกัด
- โรงแรม - แห่ง บังกะโล - แห่ง
- ปั๊มน้ำมัน และก๊าซ 5 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม 5 แห่ง
- โรงสีข้าวในโครงการพระราชดำริ 1 โรง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลปลายพระยา
- สหกรณ์นิคม 3 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด สหกรณ์นิคมปลายพระยา สหกรณ์นิคมอ่าวลึก
- ร้านรับซื้อของเก่า 2 ร้าน
- ลานเทปาล์มน้ำมัน 11 แห่ง
              3. สภาพทางสังคม
3.1 การศึกษา
- โรงเรียนอนุบาล 1 แห่ง (เอกชน)
- โรงเรียนประถมศึกษา 22 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
- โรงเรียนมัธยม (ขยายโอกาสทางการศึกษา) 3 แห่ง
- ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 7 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล 4 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 18 แห่ง
3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 19 แห่ง
- มัสยิด 1 แห่ง
3.3 สาธารณสุข
- โรงพยาบาลของรัฐ ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 9 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน 6 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 6 แห่ง
3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ 1 แห่ง
- ที่พักสายตรวจ 5 แห่ง
                   4. การบริการพื้นฐาน
4.1 การคมนาคม ใช้เส้นทางถนนในการสัญจร ถนนสายสำคัญ ได้แก่

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4035 (สายอ่าวลึก-พระแสง) แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4197 (สายปลายพระยา-เขาต่)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 415 (สายเขาต่อ-พนม)
- ทางหลวงแผ่นดินสายกระบี่ ขนอม
- ทางหลวงแผ่นดินสายเขาเขน บ้านทะเลหอย
- ถนนลาดยางสายบกเก้าห้อง เขาแก้ว
- ทางหลวงชนบทสายโคกแซะ บางเหลียว
- ถนนลาดยางสายหมู่บ้านตัวอย่างหินดาน
- ถนนลาดยางสายหมู่บ้านตัวอย่าง ทะเลหอย
- ถนนลาดยางสายบ้านคลองปัญญา
- ถนนลาดยางสายบ้านบางเหลียว
- ถนนลาดยางสายโคกเจียก
นอกจากถนนสายสำคัญดังกล่าว ยังมีถนนในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ เขตรับผิดชอบของนิคมสหกรณ์อ่าวลึก และเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งถนนที่ใช้ติดต่อระหว่างตำบล หมู่บ้านต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง รองลงมาเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก สำหรับในเขตเทศบาลตำบลปลายพระยา มีถนนลาดยาง จำนวน 5 สาย ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 27 สาย และถนนลูกรัง จำนวน 17 สาย
4.2 การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
- มีการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์
4.3 การไฟฟ้า
หน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า สังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง ในเขตอำเภอปลายพระยา มีไฟฟ้าใช้ไม่ครอบคลุมทุกครัวเรือน อยู่ระหว่างดำเนินการขยายเขตไฟฟ้า เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ-ลำห้วย-คลอง 15 สาย
- บึง หนอง และอื่นๆ 20 แห่ง
4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 43 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 292 แห่ง
- บ่อน้ำบาดาล 79 แห่ง
- อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง
- ถังเก็บน้ำ 18 ถัง
- ประปาหมู่บ้าน 13 แห่ง
- สระน้ำ 200 แห่ง

              5. ข้อมูลอื่นๆ
5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
เนื่องจากอำเภอปลายพระยา มีสภาพเป็นที่ราบสูงและที่ราบเนินเขา ส่วนสภาพของผิวดินส่วนใหญ่ เป็นดินร่วนและดินสีแดง มีความอุดมสมบูรณ์มาก สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ดี เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กาแฟ และผลไม้ต่างๆ ในที่ลุ่มสภาพเป็นดินเหนียวปนทราย สามารถปลูกข้าวได้ในบางพื้นที่ มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญ คือ เขื่อนคลองหยา โครงการชลประทานขนาดเล็กตามพระราชดำริ มีป่าไม้เบญจพรรณอุดมสมบูรณ์ มีไม้ที่สำคัญหลายชนิด มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองพระยา มีถ้ำ น้ำตก ทุ่งเลี้ยงสัตว์ และที่สาธารณประโยชน์

5.2 มวลชนจัดตั้ง
- ชมรมพลังแผ่นดิน จำนวน 1,644 คน คิดเป็นร้อยละ 20
- ชรบ.หมู่บ้านละ 20 คน รวม 680 คน
- กลุ่มแม่บ้านเกษตร 26 กลุ่ม แยกเป็น ตำบลปลายพระยา จำนวน 10 กลุ่ม
ตำบลคีรีวง จำนวน 6 กลุ่ม ตำบลเขาเขน จำนวน 6 กลุ่ม ตำบลเขาต่อ จำนวน 4 กลุ่ม
- กลุ่มแม่บ้านมหาดไทย จำนวนสมาชิก 133 คน
- ลูกเสือชาวบ้าน (ลส.ชบ.) 11 รุ่น 858 คน
-ไทยอาสาป้องกันชาติ (ทส.ปช.) 2 รุ่น 80คน
- กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ (กนช.) 1 รุ่น 40 คน
- อาสาสมัครรักษาความสงบในหมู่บ้าน (สรบ.) 122 คน
                  6. ผลการจัดเก็บภาษีอากร
อำเภอปลายพระยา มีสภาพทางด้านกายภาพ และศักยภาพของประชาชน ที่มีความพร้อมที่จะรองรับการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ขึ้นอยู่กับสภาพการดำเนินงานของส่วนราชการ และองค์กรเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
ผลการจัดเก็บภาษีอากร
จัดเก็บได้ตั้งแต่ตุลาคม 2547 – กันยายน 2548 รวม 5,017,591.98 บาท ดังนี้
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3,409,529.52 บาท
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล 375,539.29 บาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 790,131.32 บาท
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ 223,160.84 บาท
- อากรแสตมป์ 121,709.00 บาท
- ค่าปรับภาษีอากร 94,000.00 บาท
- รายได้เบ็ดเตล็ด - บาท
- และจากรายได้ส่วนท้องถิ่น 3,522.01 บาท
รวมผลการจัดเก็บภาษีทั้งสิ้น 5,017,591.98 บาท

             7. แนวทางการพัฒนาอำเภอปลายพระยา
อำเภอปลายพระยา เป็นพื้นที่เกษตรกรรมราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการปลูกสวนปาล์ม สวนยางพารา และยังมีปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน และคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ได้แก่
- การคมนาคม ต้องการให้อำเภอปลายพระยา มีถนนลาดยาง หรือถนนคอนกรีต ตัดผ่านหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกในการขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาด
- การไฟฟ้า ต้องการให้ประชาชนอำเภอปลายพระยา มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
- การประปา ต้องการให้ประชาชนอำเภอปลายพระยา มีน้ำกินน้ำใช้ ที่สะอาดถูกสุขลักษณะ ตลอดทั้งปี โดยการขอขยายเขตประปาหมู่บ้าน และจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ
- ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประชาชนอำเภอปลายพระยา จะต้องได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยการจัดตั้งชุดรักษาความสงบเรียบร้อยประจำหมู่บ้าน ทำหน้าที่ในการสอดส่องดูแลการรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน
- การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ การพัฒนาน้ำตกบางเท่าแม่ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อื่นๆ เพื่อให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายของนักท่องเที่ยว


a

ไม่มีความคิดเห็น: