14/11/57

น้ำตกบางเท่าแม่

น้ำตกบางเท่าแม่
ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ร่วมกันของ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 บ้านบางเท่าแม่ ตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ หางจากถนนสายนาเหนือ-พนม ระยะทาง 3 กม.ยังสภาพความเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์




                  






 
 

     

28/4/57

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปลายพระยาร่วมสืบสานงานประเพณีสงกรานต์ของอำเภอปลายพระยาจากทั้ง ๔ ตำบลกับหน่วยงาน องค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสี่ตำบล และผู้นำชุมชนของทั้ง ๓๕ หมู่บ้านโดยร่วมกันจัดกิจกรรมวันสงกรานต์ขึ้น

 ประวัติวันสงกรานต์   

          สำหรับคำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สงกรานต" ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือการย้ายที่ เคลื่อนที่ โดยหมายความอีกนัยนึงว่า เป็นการเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่นั่นเอง ส่วนเทศกาลสงกรานต์นั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ของคนไทยสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กันมากับประเพณีตรุษจีน จึงมีการเรียกรวมกันว่า "ประเพณีตรุษสงกรานต์" ซึ่งหมายถึง ประเพณีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นั่นเอง 
          ทั้งนี้ วันหยุดสงกรานต์ เป็นวันหยุดราชการ แบ่งออกเป็น 3 วัน ได้แก่ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์, วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา, วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก ส่วนกิจกรรมหลัก ๆ ที่ทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็จะเป็นการทำความสะอาดบ้านเรือน การร่วมกันทำบุญทำทาน สรงน้ำพระ รดน้ำของพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำคลายร้อนกัน เป็นต้น



วันสงกรานต์
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันสงกรานต์  
          ในสมัยโบราณ คนไทยถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งตกราว ๆ เดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าเป็นช่วงฤดูหนาว ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นวันที่ 1 เมษายน แต่เมื่อในยุคสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ปี พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นสากล คือวันที่ 1 มกราคม แต่กระนั้น คนไทยส่วนมากก็คุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงกำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทิน เกรกอรี่
          นอกจากประเทศไทยได้ถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่แล้ว รู้หรือไม่ว่า ประเทศมอญ พม่า ลาว  ก็นำเอาวันดังกล่าว เป็นเทศกาลฉลองวันขึ้นปีใหม่ของเขาด้วยเช่นกัน
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปลายพระยาร่วมกับ หน่วยงาน อบต.ทั้งสี่ตำบลร่วมกันจัดงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ประจำปี ๕๗ ขึ้น




16/12/56

กองทุนแม่ของแผ่นดิน

กองทุนแม่ของแผ่นดิน


สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปลายพระยาการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗

จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปลายพระยา
มีการดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนแม่ของแผ่นดิน


ประวัติกองทุนแม่ของแผ่นดิน
 
                       โครงการหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน
โครงการพัฒนาความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อการพัฒนาและเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน ตามรอยพระยุคลบาท
พัฒนาการและความเป็นมา
                       สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันที่อยู่คู่ประเทศไทยมานับหลายศตวรรษ และมีบทบาทสำคัญในการจรรโลงประเทศชาติ ยุค สมัยใด ที่ประเทศชาติต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่อาจต้องทำให้ประเทศต้องล่มสลาย สถาบันพระมหากษัตริย์จะเป็นหลักชัยและศูนย์รวมของคนไทยทั้งชาติที่จะฝ่าฟัน วิกฤติปัญหาดังกล่าวจนลุล่วง
ภัยพิบัติอันเกิดจากยาเสพติด นับเป็นวิกฤติที่ร้ายแรงที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศและนับวันมีแต่จะรุนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วิกฤติดังกล่าว เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถฯ ซึ่งเป็น พ่อ และแม่ของแผ่นดินทรงมีพระปริวิตกและทรงเรียกร้องให้พสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ ร่วมแรงร่วมใจกันเอาชนะวิกฤติปัญหานี้
                   ในช่วงหลายสิบปีก่อนหน้านี้ จากการที่ทรงเล็งเห็นภัยพิบัติของปัญหายาเสพติด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เริ่มโครงการ หลวงเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๒ (ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิโครงการหลวง) ซึ่งเป็นพระ บรมราโชบายที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การพัฒนาชาวเขาให้อยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง เลิกการทำลายป่าและเลิกการปลูกฝิ่น ความสำเร็จของโครงการหลวง ได้เป็นที่ยอมรับและรู้จักแพร่หลายในนานาประเทศ จนได้รับรางวัลแมกไซไซ (Ramond Magsaysay Award) ในสาขาInternational Understanding เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ ดังความตอนท้ายของประกาศเกียรติคุณว่า
                   “ จากการให้ความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลของนานาประเทศและร่วมกันประสานงานโดย หลายหน่วยงานในชาติ โครงการหลวงได้มีส่วนช่วยลดยาเสพติดพิษร้ายแรงของโลกลง และยังช่วยยกระดับความมั่นคงอยู่ดีกินดีแก่ชนชาวเขาทั้งหลายด้วย”
จากพระปรีชาสามารถองค์การสหประชาชาติได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญทองคำแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๗ และยังได้นำแนวพระราชดำริการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกฝิ่นไปขยายผลยังพื้นที่ต่างๆทั่วโลก
                    ด้วยความห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญกับวิกฤติยาเสพติดและเพื่อเป็นกำลังใจต่อกลุ่มมวลชนพลังแผ่นดินที่อาสาต่อสู้กับภัยยาเสพติด ใน วโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จทรงงานเยี่ยมราษฏรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ผ่านมาทางเลขาธิการ ป.ป.ส.หลายท่าน โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้นำไปใช้เป็นประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายา เสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
จากยุทธศาสตร์พระราชทาน การเอาชนะปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นให้ได้อย่างถาวรจะต้องยึดถือ “การรู้รักสามัคคี” และ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบพอเพียง” ทั้งสองหลักคิดพระราชทานดังกล่าวล้วนแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณที่รู้ซึ้งอย่างแท้จริงว่า หากผู้คนทุกหมู่เหล่าในสังคม ละความแตกแยก ละความขัดแย้ง เชิดชูสามัคคีธรรม พึ่ง พาพลังของตนเอง รู้จักประมาณในตน ไม่ฟุ้งเฟ้อ ก็จะเป็นเสมือนพลังอันมหาศาลที่จะร่วมกัน เอาชนะภัยพิบัติต่างๆจนหมดสิ้น
                     ดังนั้น การเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน จึงมีเพียงหนทางเดียวก็คือต้องน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทานมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งประเทศทั้งนี้ก็เพราะ ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสังคม จึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาโดยมิติทางสังคมทั้งระบบได้แก่ปัญหาความยากจน ปัญหาความอ่อนแอของวัฒนธรรมที่ดีงาม ปัญหาความอ่อนแอของปัจเจกบุคคล ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ ภายหลังการประกาศชัยชนะเหนือสงครามยาเสพติด การดำรงสถานะเข่นนี้ให้ได้อย่างถาวร จึงต้องมีการกำหนดงานยาเสพติดผนวกเข้ากับการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นหลักที่ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นหลักชัยนำทางมาโดยตลอดผ่านโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวกับการพัฒนาต่างๆ
การพระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถแก่ราษฎรอาสาพลังแผ่นดิน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงของพระองค์ท่าน ผู้เป็นแม่ของแผ่นดินที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย และถือเป็นมงคลสูงสุด หากจะทำให้สิ่งที่พระราชทานนี้ บังเกิดผลเพิ่มพูนแก่หมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ อย่างไม่มีวันหมดสิ้น และเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ย่อมเปรียบเสมือนน้ำทิพย์ที่หลั่งโลมจิตใจชาวไทยในหมู่บ้าน/ชุมชนต่างๆให้ฟื้นคืนสู่ความเข้มแข็ง สามารถต่อสู้กับปัญหาต่างๆได้อย่างมั่นคง ก็จะเป็นประโยชน์สูงสุด
                      การจะทำให้พระราชทรัพย์พระราชทานจากพระองค์ท่าน ผู้เป็นแม่ของแผ่นดิน ไม่สูญสลายหมดสิ้นไป จึงจำเป็นต้องมีการขยายผล ต่อยอดตลอดไป ด้วยเหตุนี้สำนักงานป.ป.ส.และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จึงได้มีแนวความคิดที่จะทำให้พระราชทรัพย์พระราชทานดังกล่าว ขยายเป็นกองทุน เรียกว่า กองทุนแม่ของแผ่นดิน ในหมู่บ้าน/ชุมชนต่างๆ หากสามารถดำเนินการได้ตามนี้ ก็ จะเป็นปราการและศูนย์รวมสำคัญในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่จะผนึกกำลังกันทำให้มีความเข้มแข็งบนพื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน สมดังพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระองค์ท่านมาโดยตลอด
พ.ศ.๒๕๔๗ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภาคที่มาของกองทุนแม่ของแผ่นดินเป็นภาคแรก จึงได้มีการพระราชทานกองทุนแม่ของแผ่นดิน เป็นครั้งแรกของประเทศ โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาฯเสด็จมาเป็นองค์ประธานเพื่อประทานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ให้กับ ๖๗๒ หมู่บ้าน/ชุมชนจาก๑๙ จังหวัดในภาค ตอ/น. จาก การประเมินผล ๑ ปีของการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากกลุ่มตัวอย่าง ๔๒๔ หมู่บ้าน (ร้อยละ ๗๔ ) พบว่าหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ ๙๓.๗ ด้านรายรับ ได้มีการระดมทุนเพิ่มขึ้นจากเงินขวัญถุงที่ได้รับโดยร้อยละ ๗๙.๒ ใช้วิธีการบริจาคจากสมาชิก ร้อยละ ๕๘.๘ ใช้วิธีการทอดผ้าป่า ด้านการใช้จ่าย ได้มีการใช้จ่ายงินกองทุนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อยละ ๖๘.๒ ให้กู้ยืม ร้อยละ ๕๓.๓ ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ร้อยละ ๑๒.๙ และ เหนือสิ่งอื่นใด ทำให้พลังของชุมชนต่างรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้จิตสำนึกร่วมที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
                        ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้มีการขยายหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัด (ศตส.จ.)คัดเลือกหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีความเข้มแข็งในอำเภอและในเขตเทศบาลเมือง อำเภอ/เทศบาลเมืองละ ๑ แห่ง รวม ๑, ๐๓๓ หมู่บ้าน/ชุมชน เข้ารับพระราชทานเงินกองทุนแม่ของแผ่นดิน จากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ในงานมหกรรมพลังไทย ต้านภัยยาเสพติด เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๘ ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี
รวมระยะ ๒ ปี (พ.ศ.๒๕๔๗ – ๒๕๔๘) มีหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ๑,๗๐๓ หมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่ง หมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้รับพระราชทานเงินกองทุนแม่ได้ระดมทุนเพิ่มเติมและดำเนินกิจกรรมพัฒนาและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านของตนเองเพื่อมุ่งสู่การ พึ่งพาตนเองและการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ได้ผลอย่างยั่งยืน
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถซึ่งทรงห่วงใยพสกนิกรชาวไทยและพระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาโดยตลอด จึงกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งของพลังแผ่นดินเพื่อการพัฒนาและเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืนตามรอยพระยุคลบาท สำหรับเป็นแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป
ความหมาย……กองทุนแม่ของแผ่นดิน……
                           กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมายถึง พระราชทรัพย์พระราชทานที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับราษฎรที่ทำหน้าที่ป้องกันยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน และเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีแด่สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเทิดทูนไว้สูงสุด และเป็นขวัญกำลังใจแก่ราษฎร สำนัก งาน ป.ป.ส. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้พัฒนาต่อยอดให้พระราชทรัพย์พระราชทานดังกล่าวเป็นศูนย์รวมของจิตใจของคนทั้งหมู่บ้าน/ชุมชน จึงมีแนวความคิดที่จะขยายหรือต่อยอดทรัพย์พระราชทาน ให้เป็น กองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยมีแนวความคิด ดังนี้
                             ๑.กองทุนแม่ของแผ่นดิน ถือเป็นสิริมงคลสูงสุด เมื่ออยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนใด ก็เปรียบเสมือน กำลังใจของพระองค์ท่านที่พระราชทานให้กับหมู่บ้าน/ชุมชนนั้นๆในการทำความดี ปกปักรักษาท้องถิ่นของตัวให้รอดพ้นจากภยันตรายต่างๆ และเป็นส่วนหนึ่งในความเข้มแข็งของประเทศชาติ
                             ๒.กองทุนแม่ของแผ่นดิน เป็นกองทุนขวัญถุง สำหรับหมู่บ้าน/ชุมชนที่ได้รับพระราชทาน เพื่อความมุ่งหมาย สร้างให้เป็นศูนย์รวมของกองทุนทั้งหมดในหมู่บ้าน/ชุมชน และให้เป็นตัวแทนของกองทุนที่ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการทำความดีทั้งกายและใจ การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน หรือกองทุนเพื่อประโยชน์สาธารณะ การที่กองทุนแม่ของแผ่นดินหมดสิ้นไป ย่อมหมายความถึง ตัวแทนของความดีหมดสิ้นลงด้วย ทุกคนในหมู่บ้าน/ชุมชนจึงต้องปกปักรักษาให้งอกงาม ไม่สูญสลาย
                             ๓.กองทุนแม่ของแผ่นดิน ใช้เป็นเงื่อนไขกระตุ้นความตื่นตัวของชุมชนให้ มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองมากยิ่งขึ้น และเป็นแบบอย่างของการพัฒนา การพึ่งตนเอง การระดมทุนในชุมชน และเป็นแบบอย่างของการบูรณาการการเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืนเข้ากับกระบวน การพัฒนา

                                           http://www.kongtunmae-oncb.com/ เว็บไซด์แนะนำ


ผลการดำเนินงานกองทุนแม่ของอำเภอปลายพระยาจังหวัดกระบี่ ข้อมูล ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๖

         สรุปกองทุนแม่ของแผ่นดินของอำเภอปลายพระยามีรายละเอียดคร่าวๆดังนี้
          ต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดิน
ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มี ๒ หมู่ คือ หมู่ที่ ๔ ตำบลเขาต่อ และ หมู่ที่ ๒ ตำบลปลายพระยา
ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ มี ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๕ ตำบลปลายพระยา และหมู่ที่ ๘ ตำบลคีรีวง
ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ มี ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๖ ตำบล คีรีวง และ หมู่ที่ ๑๔ ตำบลปลายพระยา

           กองทุนแม่ของแผ่นดินของอำเภอปลายพระยา มีทั้งสิ้น  ๑๓ กองทุน


หมู่ที่่ ๒ คีรีวง          หมู่ที่ ๔ เขาเขน         หมู่ที่ ๒ เขาต่อ         หมู่ที่ ๑ ปลายพระยา ชุมชนปากน้ำ
หมู่ที่ ๓ คีรีวง          หมู่ที่ ๖ เขาเขน          หมู่ที่ ๕ เขาต่อ        หมู่ที่ ๘ ปลายพระยา
หมู่ที่๕ คีรีวง           หมู่ที่ ๓ เขาเขน                                     หมู่ที่ ๑๑ ปลายพระยา
หมู่ที่ ๗ คีรีวง                                                                   หมู่ที่ ๑๒ ปลายพระยา





12/12/56

ข้อมูลกองทุน กข.คจ.

              
     ข้อมูลโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
กข.คจ.ความเป็นมา
ความยากจนของประชาชนชาวชนบทเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกรัฐบาลมุ่งแก้ไขให้หมดไป โดยคณะรัฐมนตรี
มีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 1?
 ระหว่าง ปี 2536 - 2539? และขยายถึงปี 2540 จำนวน 11,608 หมู่บ้าน? และมีมติอีกครั้ง? 
เมื่อวันที่? 17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 2?
 ระหว่าง?? ปี 2541 - 2544 เพื่อขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศที่ยังมีคนจนตามข้อมูล
 ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จำนวน 28,038 หมู่บ้าน

หลักการ
สนับสนุนเงินทุนในระดับหมู่บ้านสำหรับครัวเรือนเป้าหมายยืมไปประกอบ อาชีพ โดยไม่มีดอกเบี้ย
 และมอบอำนาจให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน รับผิดชอบบริหารจัดการเงินทุนของหมู่บ้าน

        
                
นายรัชพล สารดิษฐ์ชี้แจงการจัดการบริหารกองทุน กข.คจ.

ประธานกองทุน กข.คจ.เข้าร่วมประชุม
นายรัชพล สารดิษฐ์ พัฒนาการอำเภอปลายพระยาและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนประชุมคณะกรรมการ กองทุน กข.คจ.ทั้ง 11 หมู่บ้านเมื่อวันที่ 19 พ.ย.56 ณ หอประชุมอำเภอปลายพระยา เพื่อชี้แจงการบริหารจัดการกองทุน กข.คจ.ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์  สูงสุด  
บรรยากาศในที่ประชุม










ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปลายพระยาได้รายงานข้อมูลสภาวะหนี้สินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.)ข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖
        หมู่บ้านเป้าหมายโครงการ กข.คจ.จำนวน ๑๑ หมู่าบ้าน ได้่รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชนจำนวนทั้งสิ้น ๑๑ หมู่บ้าน
         ตำบลปลายพระยา มี ๔ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่๑ ปากน้ำ หมู่ที่ ๒ เขาเขนใน หมู่ที่ ๑๑ น้ำซ่ำ หมู่ที่ ๑๓                                            บ้านควนเขียว
         ตำบลเขาเขนมี ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๒ นาเทา หมู่ที่ ถ ถ้ำธนาคาร หมู่ที่ ๖ คลองปัญญา
         ตำบลเขาต่อ มี ๓ หมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ บาางเท่าแม่ หมู่ที่ ๒ บางหอย หมู่ที่๕ บางโสก
         ตำบลคีรีวง มี ๑ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๔ บ้านนา


11/12/56

ข้อมูลกองทุนหมู่บ้าน( ผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านของอำเภอปลายพระยา จ.กระบี่ )


                                                   ขอแนะนำเว็บไซด์สำหรับกองทุนหมู่บ้าน

http://www.villagefund.or.th/index.aspx
             



              สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปลายพระยานำโดยนายรัชพล สารดิษฐ์ พัฒนาการอำเภอและเจ้าหน้าที่จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ๓๕ หมู่บ้าน ของอำเภอปลายพระยาโดยมี ปลัดอาวุโสเป็นประธานในการประชุมและร่วมกับผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์สาขาปลายพระยา ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร เมื่อวันที่ ๒๗ พ.ย.๒๔๕๖ ณ หอประชุมอำเภอปลายพระยา เพื่อชี้แจงนโยบายการบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิก

             
     
ภาพบรรยากาศการร่วมประชุมของคณะกรรมการ กทบ.



                    อำเภอปลายพระยา โดยคณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับอำเภอและคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับอำเภอ / ตำบล ได้ดำเนินการสนับสนุนการขอเพิ่มทุนระยะที่ ๓ ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอปลายพระยา นับถึงปัจจุบัน( ข้อมูล ณ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ) กทบ.ยื่นคำขอเพิ่มทุนแล้วจำนวนทั้งสิ้น ๓๐ กองทุน สรุปดังนี้
           ๑  ส่งคำขอเพิ่มทุนให้ สทบ.พิจารณาอนุมัติแล้ว ๓๐ กองทุน
           ๒  สทบ.อนุมัติเพิ่มทุนแล้ว ๒๗ กองทุน
           ๓  สทบ.ให้แก้ไขปรับปรุง จำนวน ๓ กองทุน
           ๔ ส่งอำเภอตรวจสอบเอกสารประกอบคำขอเพิ่มทุนให้จังหวัดพิจารณาแล้ว จำนวน ๕ กองทุน                    เมื่อ ( ๒๙ พฤศจิกายน ๕๖ )
                                      





       จากการติดตามของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน สภาพปัญหาการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอปลายพระยา ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
             ๑ การชำระคืนเงินยืมไม่เป็นไปตามสัญญา
             ๒ การบริหารจัดการไม่เป็นไปตามระเบียบ
             ๓ ทัศนคติของกรรมการและสมาชิก ด้านความรุ้สึกเป็นเจ้าของกองทุนยังมีน้อย
             ๔ การให้คำสนับสนุน คำแนะนำ จากเจ้าหน้าที่ไม่ต่อเนื่อง
   

17/11/56

ข้อมูลกลุ่มออมทรัพย์

แนะนำเว็บ http://www.fund.cdd.go.th/cakb/?page_id=32


        สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปลายพระยานำโดยพัฒนาการอำเภอและเจ้าหน้าที่ จัดประชุมชี้แจงเรื่อง การสำรวจและรับรองคุณสมบัติเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มออมทรรัพย์เพื่อการผลิตโดยการสนับสนุนของกรมการพัฒนาชุมชน เมื่อวันที่ ๑๗ พ.ย.๕๖ ณ หอประชุมอำเภอปลายพระยา

ภาพบรรยากาศการประชุม
ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปลายพระยา ได้ดำเนินการสำรวจงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตโดยการสนับสนุนของกรมการพัฒนาชุมชนตามแบบสำรวจเสร็จเรียบร้อยแล้วได้ข้อมูล ณ วันที่ ๒๒ พ.ย.๕๖ ดังนี้
            ตำบลปลายพระยา มีจำนวน ๒ กลุ่ม สมาชิก ๓๑๖ คน เงินสัจจะสะสม ๙๕๗๒๐๐
            ตำบลเขาต่อ          มีจำนวน ๑ กลุ่ม  สามชิก ๕๖ คน  เงินสัจจะสะสม ๑๐๔๖๖๐๐
            ตำบลคีรีวง             มีจำนวน ๓ กลุ่ม  สามชิก ๒๘๐ คน  เงินสัจจะสะสม ๗๑๔๔๐๐
            ตำเขาเขน               มีจำนวน ๑ กลุ่ม  สามชิก ๒๐๘ คน  เงินสัจจะสะสม ๕๘๐๑๖๐

พัฒนาการอำเภอและเจ้าหน้าที่ชี้แจงถึงหลักเกณฑ์/เงื่อนไขตลอดจนขั้นตอน คุณสมบัติ
และหลักฐานประกอบการยื่นคำขอขึ้นทะเบียน
                 ตำบลคีรีวงมีรายละเอียดดังนี้
หมู่ที่ ๔ บ้านนา  ปีที่ตั้ง ๒๕๕๒  สมาชิก ๔๗ คน เงินสัจจะสะสม ๔๐๐๐๐ บาท
                         ประธานกลุ่ม นายดวงอมร มาลาทอง ๐๘๖ ๒๗๕๖๘๒๔
หมู่ที่ ๖ บ้านสหกรณ์ ปีที่ตั้ง ๒๕๕๐ สมาชิก ๑๓๗ คน เงินสัจจะสะสม ๓๗๑๕๐๐ บาท
                         ประธานกลุ่ม นายพงษ์สวัสดิ์ จงมี ๐๘๔ ๔๔๕ ๐๓๑๐
หมู่ที่ ๘ บ้านบางใหญ่ ปีที่ตั้ง ๒๕๔๙ สมาชิก ๙๖ คน เงินสัจจะสะสม ๓๐๒๙๐๐ บาท
                         ประธานกลุ่ม นางกัลยา วารี ๐๘๗ ๘๙๐ ๐๖๐๓

               ตำบลปลายพระยามีรายละเอียดดังนี้
หมู่ที่ ๙ บ้านหน้าสวน ปีที่ตั้ง ๒๕๔๔ สมาชิก ๒๐๐ คน เงินสัจจะสะสม ๕๕๒๐๐๐ บาท
                         ประธานกลุ่ม นายทวีป ชำนาญ 
หมู่ที่ ๑๔ บ้านริมสวน ปีที่ตั้ง ๒๕๔๙ สมาชิก ๑๑๖ คน เงินสัจจะสะสม ๔๐๐๖๐๐ บาท
                       ประธาน นายโชคดี โอพิ่ง ๐๘๔ ๘๔๐ ๖๗๖๑

               ตำบลเขาต่อมีรายละเอียดดังนี้
หมู่ที่ ๕ บ้านบางโสก ปีที่ตั้ง ๒๕๕๐ สมาชิก ๘๖ คน เงินสัจจะสะสม ๑๐๔๖๖๐๐ บาท
                      ประธาน นายสมชาย แก้วดี ๐๘๖ ๒๖๗ ๓๕๖๑

               ตำบลเขาเขนมีรายละเอียดดังนี้
หมู่ที่ ๔ บ้านถ้ำธนาคาร ปีที่ตั้ง ๒๕๔๕ สมาชิก ๑๗๖ คน เงินสัจจะสะสม ๒๖๔๑๐๐ บาท
                      ประธาน นายเฉลิม เหลื่อมแก้ว    ๐๘๑ ๐๙๐ ๙๖๕๐


31/10/56

พัฒนาชุมชนอำเภอปลายพระยาพร้อมด้วย อสพ.เข้าร่วมประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบล เขาต่อ


นายชวลิต ปุณณกิตติสกุล พัฒนากรผู้ประสานงานตำบลเขาต่อ พร้อมด้วย อสพ.เข้าร่วมประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน  ตำบล เขาต่อ รวมถึงร่วมกับหน่วยงานภาคราชการและหน่วยงานท้องถิ่น ประจำเดือน ตุลาคม ๒๕๕๖ เพื่อชี้แจงข้อราชการ และรับทราบสภาพปัญหาของตำบล


สภาพแวดล้อมที่สวยงาม

ความร่วมมือร่วมใจร่วมฟัง

เพิ่มคำอธิบายภาพ
ขอขอบพระคุณความร่วมมือร่วมใจที่ทำให้ภาพเหล่านี้เกิดขึ้น


28/10/56

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ การประกาศเลิกทาส ทำให้ปวงชนชาวไทยได้เป็นไทมาจวบจนทุกวันนี้

          ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็น วันปิยมหาราช 
 ความเป็นมาของ วันปิยมหาราช 
 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า

          ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

          เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

สำนักงานพัฒนาชุมชนปลายพระยาจัดทำพวงมาลา
          พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ครั้งแรกเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์






25/10/56

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปลายพระยาส่งเจ้าหน้าที่(อสพ)เข้าร่วมกิจกรรมกับชาวบ้าน ในประเพณีชักพระ ..วัฒนธรรมของชาวใต้

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปลายพระยาส่งเจ้าหน้าที่(อสพ)เข้าร่วมกิจกรรมกับชาวบ้าน หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 13 และหมู่ที่ 14 ต.ปลายพระยา อ.ปลายพระยา ในประเพณีชักพระ ..วัฒนธรรมของชาวใต้


สวยงามตามตำนาน

เสร็จแล้วผลงานจากชาวบ้าน


สเละภา ...เฮโล..เฮโล..

เอ้า..ตุม..ตุม..ตุม

       ประเพณีลากพระ
วัันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระ ไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด
ความสำคัญ
 เป็นประเพณีทำบุญ ในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส ์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับ มายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับ บนบุษบกแล้วแห่แหน

พิธีกรรม
     1. การแต่งนมพระ
      นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะ ที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจก แวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจง ดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระ ขึ้นอยู่กับยอดนม
     2. การอัญเชิญพระลากขึ้น ประดิษฐานบนนมพระ
    พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลาก เปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน บนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนา เรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้น ประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัด จะทำพิธีทางไสยศาสตร์ เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
    3. การลากพระ
  ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจ ในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนาน และประสานเสียงร้องบทลากพระ เพื่อผ่อนแรง
   ตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย :
              อี้สาระพา เฮโล เฮโล
            ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว
           ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ

สาระ
  ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออก ถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกัน ในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญดังนี้
  1. ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า "เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก" นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระ จึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ของคนในสังคมเกษตร
      2. เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้น เมื่อนมพระ ลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่น จะมารับทอดลากพระต่อ อย่างไม่ขาดสาย
  3. เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้อง ในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลก ขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ 
เอาล่ะสิขึ้นเขาทีมีเสียง..เอี็ยด..เอี๊ยด..แประ..แประ..แต่ตอนลงงี๊ไหลมาเลย


ชาวบ้านต่างออกแรงเนื่องจากวันนี้วันดี
เอ้า..สาละภา..เฮโล..เฮโล..ตุม..ตุม..ตุม..จำกันได้ไหมคะคำนี้


มากมายด้วยอาหารที่ชาวบ้านนำมาทำบุญในงาน

ร่วมด้วยช่วยกันล้างจานวัด

ความร่วมแรงร่วมใจในงานประเพณี


หมู่บ้านชุมชนเศรษฐิจพอเพียงต้นแบบอำเภอปลายพระยาจังหวัดกระบี่







พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่แต่เราพออยู่พอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั่งจิตอธิษฐาน ปณิธานจุดมุ่งหมายในแง่นี้ ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน ไม่ใช่รุ่งเรืองอย่างยอดแต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้ารักษาความพออยู่พอกินนั้นได้เราก็จะยอดยิ่งยวด...” 

เดินตามรอยพ่อ


ความภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นในชุมชน

วีดีโอหมู่บ้านเศรฐกิจพอเพียงต้นแบบ
บ้านถ้ำธนาคารหมู่ที่ 4 ตำบลเขาเขน
อำเภอปลาายพระยา จังหวัดกระบี่